ธนพรมีแก้ว

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก   
  ตะกร้าสินค้า (0)       
 



คำสั่งกรมสรรพากร


ที่ ป. 115/2545

 

ข้อ 4 การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 3 ให้ผู้จ่ายคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังนี้

 

(1) กรณีจ่ายค่าตอบแทนที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา
40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2.1(1) ให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

(ก) กรณีการจ่ายค่าตอบแทนที่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะ
ต้องจ่าย (ต่อปี) ได้ ให้คำนวณหาจำนวนค่าตอบแทนเสมือนว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำค่าตอบแทนที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายในปีภาษีนั้น ได้จำนวนเท่าใดให้นำค่าตอบแทนเสมือนจ่ายทั้งปีนั้น มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
กล่าวคือ นำมาหัก ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
ได้จำนวนภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้นำมาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายทั้งปี
ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีหัก ณ
ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงิน

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนค่าตอบแทนที่จ่ายระหว่างปีให้คำนวณภาษีหัก
ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง


กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี
เช่น รางวัล โบนัส หรือประโยชน์จากการได้ไปสัมมนาหรือท่องเที่ยว
ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราว
ที่จะต้องจ่าย
(ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับ ค่าตอบแทนที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี
แล้วคำนวณภาษีใหม่ ตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ
นำมาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษี
ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ)
หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น
แล้วให้นำมารวมกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้น
ในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

 

(ข) กรณีการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย
(ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา
48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำค่าตอบแทนที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับค่าตอบแทนที่จ่ายในครั้งที่สองแล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก
หากคำนวณแล้ว ไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว
(ถ้ามี) มาเครดิตออก
เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายค่าตอบแทนในครั้งที่สามและครั้งต่อ
ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

 

(2) กรณีจ่ายค่าตอบแทนที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา
40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 2.1(2) ให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1(1) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.104/2544
เรื่อง
สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544

 

(3) กรณีจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายหน้าซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ให้ผู้จ่ายหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1(2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง
สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26
กันยายน
พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.104/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544



ประกาศกรมสรรพากร


เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

---------------------------------------------

ตามที่ได้มีคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26
กันยายน พ.ศ.2528 โดยมีผลใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 เป็นต้นไป
ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.18/2530 ฯ ลงวันที่ 10
สิงหาคม พ.ศ.2530 กำหนดให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่1 กันยายน 2530
เป็นต้นไป นั้น


บัดนี้ ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 175
(พ.ศ.2530) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้เพื่อขยายขอบเขตการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อันจะมีส่วนขยายฐานภาษีออกไป และสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้มีเงินได้ด้วยกัน ตลอดจนผ่อนคลายภาระในการชำระภาษีจำนวนมากในตอนสิ้นปี และการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงจำเป็นต้องแก้ไขคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว โดยกรมสรรพากรได้ออกคำสั่ง ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2530


กรมสรรพากรจึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกันว่า สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภทดังต่อไปนี้
ตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายน พ.ศ.2530
เป็นต้นไป
ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ คือ


ข้อ 4 กรณีจ่ายเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย
การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม
การบัญชี ประณีตศิลปกรรม เดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 2.0 ได้กำหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษีในอัตราร้อยละ 3.0

 

ข้อ 5 กรณีจ่ายค่าจ้างทำของ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้


(1) ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน
ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ หรือค่าจ้างทำของอย่างอื่นที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(8) แห่งประมวลรัษฎากร


(2)ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง



(3)ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย
โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง



ส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิมตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528
ฯ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2528



ข้อ 10 การจ่ายเงินทุกกรณีดังกล่าว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภาษีที่ต้องหักด้วยแบบ
ภ.ง.ด.3
สำหรับกรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หรือแบบ ภ.ง.ด.53
สำหรับกรณีที่ผู้หักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายไม่ว่าจะได้หักภาษีดังกล่าวไว้แล้วหรือไม่ สำหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และเมื่อได้หักภาษีไว้แล้วผู้หักภาษีจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี
ณ ที่จ่ายจำนวน 2 ฉบับ
มีข้อความถูกต้องตรงกันให้แก่ผู้ถูกหักภาษีด้วย



ในกรณีมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่กองกฎหมายและระเบียบ
หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร สำนักงานสรรพากรเขต
สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำนักงานสรรพากรอำเภอหรือเขต แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้



ประกาศ
ณ วันที่ 27
ตุลาคม พ.ศ. 2530



บัณฑิต  บุณยะปานะ


อธิบดีกรมสรรพากร



คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป. 104/2544



เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 แห่งประมวลรัฎษากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ที่จ่าย

---------------------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยภาษีเงินได้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 234
(พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี
ณ ที่จ่าย ตามหมวด 3
ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
หักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตรา ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป. 4/2528
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26
กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27
มิถุนายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน



ข้อ 12/1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ
นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 8 ข้อ 9 (2) ข้อ 10
ข้อ 12 ข้อ
12/3
และข้อ 12/4 แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการของโรงแรม
ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต
ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น



(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0



(2)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย
โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0



คำว่า “การให้บริการ” หมายความว่า การกระทำใด
ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า



คำว่า “ภัตตาคาร” หมายความว่า กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือจากสถานที่ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้”



ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/4 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่
ท.ป.4/2528
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26
กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27
มิถุนายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน



ข้อ 12/4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ
ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น



(1)ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0



(2)บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0



คำว่า “การขนส่งสาธารณะ” หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ”



ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/5 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26
กันยายน พ.ศ. 2528



ข้อ 12/5 การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี
ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่ง ๆ
มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง
ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท”



ข้อ 4 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่
15
กันยายน พ.ศ. 2544
เป็นต้นไป



สั่ง
ณ วันที่ 15
กันยายน พ.ศ. 2544



ศุภรัตน์   ควัฒน์กุล

อธิบดีกรมสรรพากร

 

ที่นำมาให้ดูคือเรื่องเดียวกันแต่หลายแนวทาง

 

ใบคำขอเปลียนแปลงประกันกลุ่ม

ใบสมัครสมาชิก


ใบสมัครคู่สมรส

 

 

http://www.aia.co.th/th/resources/6950e5004a12fe18a8d8f9b927f11de2/AIA_cs_r_ap_6_9_1_10_20100907_th.pdf

 

http://www.aia.co.th/th/resources/75b55c004a12fe71a8e3f9b927f11de2/AIA_cs_r_ap_6_9_1_11_new_th.pdf

 

http://www.aia.co.th/th/resources/beb241004c75baed9d20bd9a6c3b0c76/AIA_cs_r_ap_6_9_1_18_cheque.pdf

 

แบบฟอร์มเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมด

 
Online:  1
Visits:  351,084
Today:  20
PageView/Month:  236